ชิวาวาเป็นสุนัขขนาดเล็ก ถือว่าตัวเล็กที่สุดในโลก หูมีขนาดใหญ่ ดวงตากลมโต เหมาะที่จะใช้เลี้ยงเป็นเพื่อน ชอบออกไปเดินเล่นกับเจ้าของ เห่าเสียงดัง ค่อนข้างติดเจ้าของและไม่ทำลายข้าวของ
ความเป็นมา
ชิวาวาหรือเจ้าชิวาว่ามีต้นกำเนิดที่ประเทศแม็กซิโก ชาวพื้นเมืองนิยมเลี้ยง เพราะมีความเชื่อถือในเรื่องโชคลางต่างๆ จนถึงขั้นมีการนำชิวาวาไปใช้ในพิธีบูชายันต์
ลักษณะนิสัย
ชิวาวาเป็นสุนัขที่มีความฉลาดและจงรักภักดีต่อเจ้าของมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ โดยปกติมักเป็นสุนัขที่เงียบสงบไม่ค่อยเห่าส่งเสียงรบกวน เว้นแต่จะถูกรบกวนหรือทำตกใจจึงจะเห่าเพื่อรักษาที่อยู่อาศัยของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีนิสัยกล้าหาญจะยืนหยัดต่อสู้กับสุนัขตัวอื่นๆไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กกว่า แต่ก็มีอัธยาศัยที่ดีกับสุนัขตัวอื่นๆหรือสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ
การดูแล
วงอายุที่ต้องการเอาใจใส่มากที่สุดในการเลี้ยงชิวาวาเพราะสุนัขจะตายมากที่สุดคือช่วงอายุระหว่าง 2-3 เดือน เนื่องจากวัยนี้เป็นช่วงที่สุนัขพึ่งอดนมใหม่ๆ ซึ่งหากสุนัขกินอาหารที่ผิดไปเพียงนิดเดียว ก็จะส่งผลให้สุนัขท้องเสียได้ โดยถ้าสุนัขตัวไหนไม่มีภูมิต้านทานได้รับเชื้อ ก็อาจจะถึงตายได้เหมือนกัน แต่หลังจากช่วง 2-3 เดือนไปแล้ว ก็สามารถจะเอาใจใส่น้อยลงได้
แล้ววิธีสังเกตง่ายๆ ว่าสุนัขมีอาการผิดปกตินั้น ให้สังเกตจากที่สุนัขไม่ค่อยกินข้าวหรือกินข้าวน้อยลงก็ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าสุนัขจะไม่สบาย และส่วนการให้อาหารนั้น ผู้เลี้ยงอาจเลือกซื้ออาหารสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดมาให้สุนัขกินได้ เพียงเลือกให้เหมาะสมกับสุนัขเท่านั้น
ในเรื่องของการออกกำลังกาย ผู้เลี้ยงสามารถปล่อยให้ชิวาวาไปออกกำลังกายได้เองภายในสวนหรือพื้นที่จำกัด แต่ชิวาวาชอบที่จะออกไปเล่นกับเจ้าของมากกว่า
ส่วนเรื่องสุขภาพนั้น โรคที่จะเกิดกับชิวาวาก็จะเหมือนกับสุนัขพันธุ์อื่นๆทั่วไป ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคลำไส้อักเสบกับไข้หัด สาเหตุของโรคทั้งสองคือการติดต่อซึ่งหากสุนัขตัวไหนไม่มีการฉีดวัคซีนแล้วไปถูกเชื้อเข้าก็จะติดต่อได้
ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ผู้เลี้ยงชิวาวาจะต้องมีเวลาพาไปออกกำลังกายบ่อยๆ เพื่อควบคุมน้ำหนัก และต้องมีความรอบคอบในการดูแลสุนัข เนื่องจากชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็ก หากผู้ดูแลไม่มีความระมัดระวัง อาจจะเผลอถอยรถเหยียบหรือพลัดหล่นจากมือตกลงมาตายหรือกัดสายไฟถูกไฟช็อตตายได้ ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุที่ดีที่สุด คือการใส่สุนัขไว้ในกรงตลอดเวลา
ข้อควรจำ
ระวังอย่าให้ศีรษะได้รับการกดหรือการกระแทก เพราะน้องชิวาวามีความเสี่ยงที่กระโหลกหน้าผากจะปิดไม่สนิท แม้จะอยู่ในช่วงโตเต็มวัย นอกจากนี้ ฟันของชิวาวามักมีหินปูนจับบ่อย จึงต้องพาไปหาสัตวแพทย์ปีละ 1-2 ครั้ง
ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้
ความน่ารักของสุนัขพันธุ์นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น